Page 184 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 184
ขายฝาก
แหวนทองคำาเป็นทรัพย์ขายฝากนายคงคาก็ไม่มีหน้าที่รับการไถ่จาก
นายกุ๊กไก่ แต่หากนายไข่นุ้ยบอกนายคงคาว่าแหวนทองคำาเป็นทรัพย์
ขายฝากจากนายกุ๊กไก่ นายคงคาต้องรับการไถ่จากนายกุ๊กไก่
สินไถ่
สินไถ่ คือจำานวนเงินที่คู่สัญญาตกลงกันสำาหรับไถ่ถอนทรัพย์สิน
ที่ขายฝาก ทั้งนี้ สินไถ่อาจมีราคาสูงกว่าหรือตำ่ากว่าราคาที่ขายฝากก็ได้
เช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากที่ดินราคา 100,000 บาท ไว้กับนายไข่นุ้ยกำาหนด
สินไถ่ 90,000 บาท หรือ 110,000 บาท เป็นต้น นายกุ๊กไก่ก็ต้องนำาเงิน
จำานวนสินไถ่ชำาระให้แก่นายไข่นุ้ยเพื่อไถ่ที่ดินคืน
กรณีที่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำาหนดสินไถ่กันไว้ก็ให้ผู้มีสิทธิ
ไถ่ทรัพย์ขายฝากใน “ราคาขายฝาก” เช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากที่ดินไว้กับ
นายไข่นุ้ย โดยตกลงราคาขายฝาก 50,000 บาท โดยไม่ตกลงราคา
สินไถ่ ก็ถือว่านายกุ๊กไก่ต้องไถ่ที่ดินคืนในราคา 50,000 บาท
ทั้งนี้ กฎหมายห้ามไม่ให้กำาหนดสินไถ่หรือผู้ขายฝากคิดผลประโยชน์
ตอบแทนจากการขายฝาก (กรณีไม่กำาหนดสินไถ่กันไว้) สูงกว่าราคา
ขายฝากที่แท้จริงเกินอัตรา 15% ต่อปี หากคิดเกินกว่าอัตราที่กฎหมาย
กำาหนดให้ลดลงมาเหลือ 15% ต่อปี ตัวอย่างเช่น นายกุ๊กไก่ขายฝาก
ที่ดินไว้กับนายไข่นุ้ย. ราคา 100,000 บาท กำาหนดไถ่ 1 ปี สินไถ่ที่กำาหนด
ต้องไม่เกิน 115,000 บาท (ราคา 100,000 บาท + ผลประโยชน์ตอบแทน
15,000 บาท) ถ้าสัญญากำาหนดไว้เกินนายกุ๊กไก่มีสิทธิไถ่ได้ในจำานวนสินไถ่
115,000 บาท
182