Page 183 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 183
ขายฝาก
ผู้มีหน้าที่รับไถ่
(ใครมีหน้าที่ต้องรับการไถ่ทรัพย์ขายฝาก?)
ผู้ใช้สิทธิไถ่ต้องไถ่ทรัพย์ขายฝากจากบุคคลต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อฝาก - เป็นคู่สัญญาที่รับซื้อทรัพย์ขายฝากไว้
(2) ทายาทของผู้ซื้อฝาก - ทายาทของผู้ซื้อฝากกรณีที่ผู้ซื้อขาย
ตายและทรัพย์ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทนั้น เช่น นายไข่นุ้ย
รับซื้อฝากที่ดินไว้จากนายกุ๊กไก่ ต่อมานายไข่นุ้ยตายที่ดินตกเป็นของ
ลูกนายไข่นุ้ย ดังนั้น นายกุ๊กไก่ต้องไถ่ที่ดินคืนจากลูกนายไข่นุ้ย
(3) ผู้รับโอนทรัพย์ขายฝาก - เนื่องจากผู้ซื้อฝากได้กรรมสิทธิ์
ในทรัพย์ขายฝากผู้ซื้อฝากจึงสามารถโอนทรัพย์ขายฝากให้แก่บุคคลอื่น
ต่อไปได้ เช่น ขาย ยกให้ โดยสิทธิการไถ่จะติดไปกับทรัพย์ขายฝาก
นั้นด้วย ผู้รับโอนทรัพย์ขายฝากจึงมีหน้าที่ต้องรับการไถ่ เช่น นายกุ๊กไก่
ขายฝากที่ดินไว้กับนายไข่นุ้ย ต่อมานายไข่นุ้ยนำาที่ดินไปขายให้นายคงคา
ดังนั้น นายกุ๊กไก่ต้องไถ่ที่ดินคืนจากนายคงคา ทั้งนี้ แม้ว่านายกุ๊กไก่และ
นายไข่นุ้ยตกลงกันไม่ให้นายไข่นุ้ยโอนที่ดินไปให้บุคคลอื่นก็ตาม นายกุ๊กไก่
ก็ยังคงมีสิทธิไถ่ที่ดินคืนจากนายคงคาผู้รับโอนทรัพย์ขายฝาก
อย่างไรก็ดี กรณีทรัพย์ขายฝากเป็น “สังหาริมทรัพย์” เช่น ทองคำา
แหวนเพชร เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้รับโอนทรัพย์ขายฝากมีหน้าที่รับไถ่ต่อ
เมื่อได้รู้ว่าทรัพย์สินนั้นตกมีภาระ “สิทธิไถ่” อยู่ ณ เวลาที่รับโอนทรัพย์
ขายฝากนั้น เช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากแหวนทองคำาไว้กับนายไข่นุ้ย ต่อมา
นายไข่นุ้ยนำาแหวนทองคำาไปขายให้นายคงคา หากนายคงคาไม่รู้ว่า
181