Page 189 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 189

ขายฝาก





                  อย่างไรก็ดี กรณีภาระติดพันที่เป็น “สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์”

            (อธิบายในเรื่อง “เช่า”) ผู้เช่าอาจอ้างสิทธิการเช่าต่อผู้ไถ่ได้ไม่เกิน 1 ปี

            นับตั้งแต่การไถ่ หากการเช่ามีลักษณะ ดังนี้

                    (1) จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
                    (2) การเช่าทำาขึ้นในกำาหนดระยะเวลาไถ่ทรัพย์ขายฝาก

                  ตัวอย่างเช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากที่ดินไว้กับนายไข่นุ้ยกำาหนดไถ่ 4 ปี

            ต่อมา นายไข่นุ้ยจึงนำาที่ดินดังกล่าวให้นายคงคาเช่าเป็นเวลา 4 ปี และ

            จดทะเบียนการเช่าตามรูปแบบที่กฎหมายกำาหนด แต่นายกุ๊กไก่ไถ่ที่ดิน

            คืนเมื่อการขายฝากครบปีที่ 2 นายคงคาจึงมีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าว

            ได้อีก 1 ปี (ไม่ใช่ 2 ปีตามระยะเวลาการเช่าที่ตกลงไว้กับนายไข่นุ้ย)



            ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขายฝาก


                  ขายฝากเป็นการนำาทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
            ขายฝากจึงมีความคล้ายคลึงกับ “จำานอง” กล่าวคือ ผู้ขายฝากต้องการเงิน

            จึงนำาทรัพย์สินของตนไปขายฝากไว้กับผู้ซื้อฝากและเมื่อผู้ขายฝากมีเงิน

            ก็จะไปไถ่ทรัพย์สินที่ตนขายฝากไว้กลับคืนมา  แต่หากผู้ขายฝาก

            ไม่สามารถหาเงินมาไถ่ทันภายในกำาหนด ผู้ขายฝากก็จะหมดสิทธิไถ่

                  ด้วยการที่ขายฝากมีความคล้ายคลึงกับจำานองจึงทำาให้เกิดความ

            เข้าใจผิด ดังนี้





                                          187
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194