Page 180 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 180
ขายฝาก
ผู้ใช้สิทธิไถ่ (ใครคือผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากคืน?)
สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนสามารถตกทอดไปยังทายาท และเป็น
สิทธิที่โอนกันได้ ผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน ได้แก่
(1) ผู้ขายฝาก
(2) ทายาทของผู้ขายฝาก - เมื่อผู้ขายฝากตายสิทธิการไถ่ตกไปเป็น
ของทายาททันทีที่ผู้ขายฝากตายโดยไม่ต้องรอให้มีการรับโอนมรดกก่อน
เช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากที่ดินไว้กับนายไข่นุ้ย ต่อมานายกุ๊กไก่ตาย
สิทธิการไถ่ตกเป็นของลูกนายกุ๊กไก่ ลูกนายกุ๊กไก่ก็เป็นผู้ใช้สิทธิไถ่ที่ดิน
จากนายไข่นุ้ย
(3) ผู้รับโอนสิทธิไถ่จากผู้ขายฝาก - บุคคลผู้ได้รับสิทธิไถ่ที่ผู้ขาย
ฝากโอนให้ ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติมักเกิดขึ้นเมื่อผู้ขายฝากไม่มีเงินไถ่ทรัพย์
ขายฝากคืนแต่มูลค่าทรัพย์ขายฝากยังสูงกว่าจำานวนสินไถ่ที่กำาหนดไว้
ผู้ขายฝากจึงขายสิทธิไถ่ให้แก่บุคคลอื่นโดยผู้ขายฝากอาจได้รับเงิน
มาอีกจำานวนหนึ่งจากผู้รับโอนที่ซื้อทรัพย์ขายฝาก
ตัวอย่างเช่น นายกุ๊กไก่ขายฝากที่ดินมูลค่า 120,000 บาท
ให้แก่นายไข่นุ้ย ตกลงสินไถ่ 110,000 บาท จึงมีมูลค่าส่วนต่าง (ราคา
ที่ดิน - สินไถ่) คือ 10,000 บาท เมื่อใกล้ครบกำาหนดไถ่นายกุ๊กไก่ไม่มี
เงินไถ่ จึงขายสิทธิการไถ่ให้นายงดงามราคา 5,000 บาท นายงดงาม
จึงเป็น “ผู้รับโอนสิทธิไถ่” มีสิทธิไถ่ที่ดินกับนายไข่นุ้ยด้วยสินไถ่
110,000 บาท และกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของนายงดงาม โดยนายกุ๊กไก่
ได้รับเงินค่าขายสิทธิอีกจากการขายสิทธิการไถ่ 5,000 บาท และ
นายงดงามก็ได้กำาไรจากการซื้อสิทธิไถ่ 5,000 บาท
178