Page 31 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 31
ซื้อขาย
ไปจำานองไว้กับธนาคารเพื่อประกันการชำาระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน
ซึ่งหากนายกุ๊กไก่ไม่ชำาระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้ครบถ้วนถูกต้อง
ธนาคารผู้รับจำานองก็สามารถบังคับจำานอง โดยการยึดที่ดินนั้น
ออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้ (อธิบายเพิ่มเติมในเรื่อง “จำานอง”)
อย่างไรก็ดี หากผู้จำานองโอนทรัพย์จำานองให้แก่ผู้อื่น สิทธิจำานอง
ของผู้รับจำานองยังติดไปกับตัวทรัพย์นั้นด้วย ดังนั้น แม้ทรัพย์จำานอง
เปลี่ยนเป็นของเจ้าของคนใหม่ (หรือเรียกว่า “ผู้รับโอนทรัพย์”) ไปแล้ว
ผู้รับจำานองก็ยังคงบังคับจำานองเอากับทรัพย์จำานองนั้นได้อยู่ เช่น
หากนายกุ๊กไก่ขายที่ดินที่จำานองไว้กับธนาคารให้แก่นายไข่นุ้ย การจำานองนั้น
ก็ยังคงติดไปกับที่ดินดังกล่าว หากต่อมานายกุ๊กไก่ไม่ชำาระหนี้
ตามสัญญากู้ยืมเงิน ธนาคารสามารถบังคับจำานองโดยการยึดที่ดิน
ออกขายทอดตลาดได้แม้ที่ดินจะเป็นของนายไข่นุ้ยแล้วก็ตาม แต่กฎหมาย
ก็เปิดโอกาสผู้รับโอนทรัพย์จำานองสามารถไถ่ถอนจำานองได้
ดังนั้น หากนายไข่นุ้ยไม่ต้องการให้มีจำานองติดกับที่ดิน นายไข่นุ้ย
ต้องให้นายกุ๊กไก่ดำาเนินการปลดจำานองให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อไม่ให้
ตนเองต้องเสี่ยงรับภาระหากที่ดินถูกบังคับจำานองในอนาคต
2. ภาระจำายอม
ภาระจำายอมเป็นทรัพยสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่ง (ที่เรียกว่า
“ภารยทรัพย์”) ทำาให้เจ้าของที่ดินนั้นต้องยอมรับภาระบางอย่าง หรือ
แบกรับภาระบางอย่างซึ่งทำาให้เจ้าของที่ดินไม่สามารถใช้ประโยชน์
จากที่ดินของตนได้อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์แก่การใช้ที่ดินแปลงอื่น เช่น
29