Page 120 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 120

จำานอง





               ตัวอย่างเช่น  นายกุ๊กไก่ขายที่ดินมือเปล่าที่มีหนังสือรับรอง

          การทำาประโยชน์ (น.ส.3ก.) แก่นายไข่นุ้ยโดยไม่ได้จดทะเบียนแต่นายไข่นุ้ย
          ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์บนที่ดินดังกล่าวแล้ว ดังนั้น นายไข่นุ้ย

          จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หากต่อมานายกุ๊กไก่เอาที่ดินไปจดทะเบียน

          จำานองไว้กับนายคงคา (เพราะนายกุ๊กไก่ยังมีชื่อในเอกสารสิทธิ์) การจำานอง

          จึงไม่มีผลผูกพัน นายไข่นุ้ยมีอำานาจฟ้องขอให้เพิกถอนจำานองที่ดินได้

          เพราะนายกุ๊กไก่ไม่มีสิทธิครอบครองแล้วจึงไม่สามารถนำาที่ดินไป
          จดจำานองได้อีก




          รูปแบบของสัญญาจำานอง

               สัญญาจำานองต้องทำาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

          ไม่เช่นนั้นสัญญาจำานองเป็น “โมฆะ” โดยสัญญาจำานองต้องระบุให้ชัดเจน
          ในเรื่องดังต่อไปนี้

                    (1) สัญญาประธานที่การจำานองเป็นหลักประกัน เช่น สัญญา

          จำานองเพื่อเป็นหลักประกันสัญญากู้ยืมเงินระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้

                    (2) จำานวนเงินที่แน่นอนหรือจำานวนเงินขั้นสูงสุด เพื่อให้

          ชัดเจนว่าการจำานองนี้เพื่อประกันการชำาระหนี้จำานวนเท่าไร เช่น จำานอง
          เป็นประกันหนี้จำานวน 1 ล้านบาท หรือจำานองเป็นประกันหนี้ไม่เกิน

          1 ล้านบาท

                    (3) ทรัพย์จำานอง เพื่อให้ชัดเจนว่าทรัพย์ใดที่เป็นหลักประกัน

          การชำาระหนี้

                                       118
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125