Page 119 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 119
จำานอง
จำานองที่ดินมือเปล่า
(ที่ดินมือเปล่านำามาจำานองได้หรือไม่?)
ที่ดินมือเปล่า คือ ที่ดินที่รัฐเป็นเจ้าของ ที่ดินดังกล่าวจึงไม่มี
เอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน แต่ประชาชนที่อาจเข้าถือครองใช้ประโยชน์
แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้งนี้ ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่มีเจตนา
จะยึดถือเอาที่ดินมือเปล่านั้นมาเป็นของตัวเองโดยการเข้าไปทำากินนั้น
ถือเป็น “ผู้มีสิทธิครอบครอง” ในที่ดิน มีสิทธิหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นมาใช้
ประโยชน์ได้
เจ้าของที่ดินมือเปล่าอาจนำาที่ดินของตนไปจำานองได้ แต่ที่ดินนั้น
ต้องมีหนังสือสำาคัญการจดทะเบียนที่ดินซึ่งได้แก่ หนังสือรับรองการทำา
ประโยชน์ (น.ส.3 และ น.ส.3ก.) เพราะการจำานองจะต้องนำาทรัพย์สิน
และเอกสารสิทธิ์ไปจดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ที่สำานักงานที่ดิน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำาหนด (รูป) แบบของการ
โอนหรือซื้อขายที่ดินมือเปล่า การโอนสิทธิครอบครองจึงสามารถทำาได้
โดยไม่ต้องจดทะเบียน ผู้รับจำานองที่ดินมือเปล่าจึงต้องระมัดระวัง
โดยตรวจสอบการ “สิทธิครอบครอง” ให้ดีว่าผู้จำานองยังคงมีสิทธิครอบ
ครองอยู่หรือไม่ เพราะหากผู้จำานองไม่มีสิทธิครอบครอง (ไม่ว่าด้วยการสละ
การครอบครอง การโอนการครอบครอง หรือการขายที่ดินมือเปล่า)
การจำานองก็จะไม่ผูกพัน และผู้รับจำานองไม่สามารถบังคับจำานองได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิ์ที่ดินมือเปล่านำาที่ดินไป
จำานอง โดยที่ผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่เจ้าของแล้วในขณะทำาสัญญาจำานอง
117