Page 140 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 140
จำานอง
ข้อพึงระวังเกี่ยวกับการจำานอง
(การนำาทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ที่ไม่ใช่การจำานอง)
การจำานองที่มีผลผูกพันคู่สัญญาต้องดำาเนินการตาม (รูป) แบบที่
กฎหมายกำาหนดเท่านั้น หากคู่สัญญาไม่ทำาตามแบบที่กฎหมายกำาหนด
ย่อมไม่เป็นการจำานอง ผู้รับจำานองและทรัพย์จำานองไม่ผูกพันเพื่อ
ชำาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับหลักประกันย่อมไม่มีสิทธิ
บังคับจำานองเพื่อการชำาระหนี้ให้กับตนเอง ตัวอย่างที่มักทำากันอยู่เสมอ
ในทางปฏิบัติ เช่น
1) การส่งมอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้
การที่เจ้าของทรัพย์ส่งมอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้
เป็นประกันโดยไม่ได้ทำาเป็นจดทะเบียนจำานองตามแบบที่กฎหมาย
กำาหนด อาจเพราะคู่สัญญาไม่อยากเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย รวมถึง
ค่าธรรมเนียม บางครั้งสัญญาประธานเป็นการกู้ยืมเงินกันในระยะสั้น
หรือเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างเพื่อนฝูงญาติมิตรจึงมีความไว้วางใจกัน
และมีความเกรงใจกัน
การส่งมอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้มีผลเสียแก่เจ้าหนี้ ดังนี้
(1) การให้หลักประกันด้วยวิธีนี้ไม่ถือเป็นการจำานองตามกฎหมาย
(2) เจ้าของทรัพย์อาจแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำารวจว่า
โฉนดที่ดินหายและนำาใบแทนโฉนดไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ขาย
หรือจำานอง โดยที่เจ้าหนี้ไม่มีโอกาสรู้
138