Page 113 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 113

จำานอง





            จึงเป็นสัญญาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองจากความต้องการของคู่สัญญาเท่านั้น

            แต่ต้องมีสัญญาประธานเกิดขึ้นก่อน เช่น จากตัวอย่างสัญญาประธาน

            คือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และธนาคารผู้ให้กู้ ดังนั้น ในสัญญาจำานอง

            อาจมีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากกว่า 2 ฝ่ายได้ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามสัญญา
            ประธานเป็นคนละคนกันกับผู้จำานอง เช่น นายกุ๊กไก่กู้ยืมเงินจากธนาคาร

            โดยมีนายไข่นุ้ยนำาที่ดินของตนเองมาจำานองเพื่อประกันการชำาระหนี้

            ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว แต่สิทธิและหน้าที่ของสัญญาทั้ง 2 ฉบับ

            จะแยกต่างหากจากกันและเป็นไปตามที่กฎหมายกำาหนด เพียงแต่

            ความรับผิดของผู้จำานองขึ้นอยู่กับการชำาระหนี้ของลูกหนี้ตามสัญญา

            ประธาน

                  ทั้งนี้ สัญญาจำานองมีคู่สัญญาแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
                  (1)  ผู้จำานอง


                  คู่สัญญาที่นำาทรัพย์ของตนเองมาประกันการชำาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
            ตามสัญญาประธาน (ผู้รับจำานอง) ผู้จำานองจึงต้องเป็น “เจ้าของ”

            ทรัพย์จำานองเท่านั้น เนื่องจากการจำานองเป็นเอาทรัพย์ไปเป็นหลักประกัน

            การชำาระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้บังคับจำานองทรัพย์จำานองก็อาจถูก

            โอนไปยังบุคคลอื่น ดังนั้น ผู้จำานองจึงต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำานอง

            ในขณะทำาสัญญาจำานอง








                                          111
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118