Page 104 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 104
คำ้าประกัน
อย่างไรก็ดี ในกรณีการคำ้าประกัน “กิจการเนื่องกันไป
หลายคราว” และ “ไม่มีการจำากัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้” เช่น สัญญากู้เบิกเงิน
เกินบัญชี การคำ้าประกันการเข้าทำางานของลูกจ้าง ลักษณะของกิจการ
ที่ผู้คำ้าประกันเข้ารับรองนั้นเป็นหนี้ประธานที่อาจยังไม่มีหนี้ประธาน
เกิดขึ้นแต่อาจมีหนี้ประธานเกิดขึ้นในอนาคต และอาจเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ
เมื่อการคำ้าประกันนั้นไม่มีการจำากัดเวลาทำาให้ผู้คำ้าประกันต้องรับผิด
ในหนี้ประธานไปเรื่อยๆ ดังนั้น กฎหมายจึงให้สิทธิแก่ผู้คำ้าประกัน
ในกรณีเช่นนี้ให้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาคำ้าประกันได้
ทั้งนี้ สิทธิบอกเลิกสัญญาคำ้าประกันนี้ผู้คำ้าประกันสามารถบอกเลิก
สัญญาคำ้าประกันกับ “เจ้าหนี้” โดยไม่จำาเป็นต้องได้รับความยินยอม
จากเจ้าหนี้ และผลของการบอกเลิกสัญญาคำ้าประกันนี้เป็นผลให้
ผู้คำ้าประกันสิ้นสุดความผูกพันอันเป็นการปลดภาระของตนเองเพื่อกิจการนั้น
“ในอนาคต” เท่านั้น ดังนั้น หากกิจการที่คำ้าประกันนั้นเกิดหนี้ประธาน
ขึ้นแล้วก่อนที่ผู้คำ้าประกันจะบอกเลิกสัญญา เช่น ลูกจ้าง (ลูกหนี้)
ก่อความเสียหายให้แก่นายจ้าง (เจ้าหนี้) แล้ว ผู้คำ้าประกันยังคงผูกพัน
ต้องรับผิดต่อนายจ้าง แต่หากลูกจ้างก่อความเสียหายแก่นายจ้าง
ภายหลังจากที่ผู้คำ้าประกันบอกเลิกสัญญาไปแล้วผู้คำ้าประกันก็ไม่ต้อง
รับผิดต่อนายจ้าง
102