Page 152 - คู่มือกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์ - กรมบังคับคดี
P. 152

จำานำา





          จำานำาสิทธิที่มีตราสาร

          (สิทธิที่มีตราสารจำานำาได้หรือไม่? อย่างไร?)

               “สิทธิที่มีตราสาร” คือ เอกสารที่ใช้แทนทรัพย์หรือสิทธิใดๆ

          ที่ได้ทำาขึ้นตามรูปแบบที่กฎหมายกำาหนดและสามารถโอนกันได้ด้วย

          วิธีการเฉพาะ เช่น เช็ค ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ใบหุ้น ใบหุ้นกู้

          ใบประทวนสินค้า ใบตราส่ง เป็นทรัพย์สินที่นำามาจำานำาได้แต่การจำานำา

          ไม่จำาเป็นต้องส่งมอบ “ทรัพย์” เหมือนสังหาริมทรัพย์อื่น

               การจำานำาสิทธิที่มีตราสารทำาได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
                 1.  ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับจำานำา

                 2.  หากเป็นตราสารที่สลักหลังโอนได้เช่น เช็คออกให้แก่

          ผู้ถือ ให้สลักหลังไว้ว่าเป็นการจำานำา เช่น “ราคาเป็นประกัน” หรือ “ราคา

          เป็นจำานำา”

                 3.  หากเป็นตราสารระบุชื่อและห้ามสลักหลังโอนเปลี่ยนมือ

          ให้ระบุข้อความแสดงการจำานำา และแจ้งการจำานำาเป็นหนังสือไปยัง

          ลูกหนี้แห่งสิทธิ เช่น เช็คชนิดระบุชื่อให้แจ้งไปยังธนาคารในฐานะลูกหนี้
          แห่งสิทธิ

                 4.  กรณีใบหุ้นชนิดระบุชื่อ ต้องจดการจำานำาไว้ในสมุดทะเบียน

          บริษัท  แต่ในกรณีหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งมัก

          เป็นหุ้นที่ไม่มีใบหุ้นก็สามารถดำาเนินการจำานำาได้ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์





                                       150
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157